วันอังคารที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2557

แป้นพิมพ์ไทย

แป้นพิมพ์ของไทย


แป้นพิมพ์เกษมณี เป็นผังแป้นพิมพ์ภาษาไทย คิดค้นโดยสุวรรณประเสริฐ เกษมณี เพื่อใช้กับเครื่องพิมพ์ดีด (ซึ่งไม่มี ฃ/ฅ) ไม่ใช่กับคอมพิวเตอร์โดยตรง โดยในตอนแรกผังแป้นพิมพ์นี้เรียกว่า "แบบมาตรฐาน" เนื่องจากเป็นผังแป้นพิมพ์แบบแรก ๆ ที่ใช้ ต่อมาผู้ร่วมงานเรียกชื่อว่า แป้นพิมพ์เกษมณี เนื่องจากสฤษดิ์ ปัตตะโชติได้นำเสนอผังแป้นพิมพ์แบบใหม่ ที่เรียกว่าแป้นพิมพ์ปัตตะโชติ   ปัจจุบัน สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม พัฒนาแป้นพิมพ์เกษมณีเป็นแป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์
แป้นพิมพ์เกษมณี มีแป้นเหย้าอยู่ที่ ซ้าย     และขวา –   
จุดแตกต่างระหว่างเครื่องพิมพ์ดีดกับคอมพิวเตอร์มีดังนี้
เมื่อยกแคร่  Shift แล้วกดแป้น – เครื่องพิมพ์ดีดจะได้ไม้หันอากาศพร้อมกับไม้โท (–ั้) เทียบเท่ากับการกดทีละตัว ส่วนคอมพิวเตอร์จะได้สัญลักษณ์สกุลเงินบาท (฿)

เครื่องพิมพ์ดีดไม่มีแป้นสำหรับ ฃ ฅๅ + และ _ % สำหรับคอมพิวเตอร์เพิ่มเข้ามาในภายหลัง



แป้นพิมพ์ปัตตะโชติ เป็นผังแป้นพิมพ์ภาษาไทย คิดค้นโดยสฤษดิ์ ปัตตะโชติ เนื่องจากการวิจัยของสฤษดิ์ชี้ให้เห็นว่า แป้นพิมพ์เกษมณีจะมีการใช้งานมือขวามากกว่ามือซ้าย และนิ้วก้อยขวาจะถูกใช้งานหนัก จึงได้ประดิษฐ์แป้นพิมพ์ปัตตะโชติขึ้น โดยเฉลี่ยให้ทั้งสองมือใช้งานเท่า ๆ กัน และให้ลำดับนิ้วที่ใช้บ่อยคือนิ้วชี้ แล้วไล่ลงไปที่นิ้วกลาง นิ้วนาง และนิ้วก้อยที่ใช้งานน้อยที่สุด
จากการวิจัยของสภาวิจัยแห่งชาติพบว่า แป้นพิมพ์ปัตตะโชติสามารถพิมพ์ได้เร็วกว่าแป้นพิมพ์เกษมณีถึง 25.8% และยังช่วยลดอาการปวดนิ้วมือจากการพิมพ์ได้ แต่แป้นพิมพ์ปัตตะโชติก็ไม่เป็นที่นิยมใช้ เนื่องจากความเคยชินในการใช้แป้นพิมพ์เกษมณีที่แพร่หลายก่อนหน้านั้นแล้ว
แป้นพิมพ์ปัตตะโชติ มีแป้นเหย้าอยู่ที่ ซ้าย     และขวา     และถึงแม้จะมีแป้นเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งแป้น แต่แป้น ฃ ฅ ก็ยังไม่มี เช่นเดียวกับแป้นพิมพ์เกษมณี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น