วันอังคารที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2557

DVD


แผ่นประเภท DVD ชนิดต่างๆ ดังนี้


แผ่น DVD-ROM (Digital Versatile Disc-Read Only Memory) : แผ่นที่สามารถอ่านข้อมูลได้อย่างเดียว ไม่สามารถบันทึกข้อมูลใหม่ หรือข้อมูลเดิมที่มีอยู่ ก่อนได้ ภายในแผ่นจะมีข้อมูลที่บรรจุอยู่ภายในแผ่นเรียบร้อยแล้ว เช่น

แผ่น DVD-Audio : เป็นแผ่นสำหรับบันทึกเสียงระดับคุณภาพในรูปแบบของเสียงระบบดิจิ ตอล จึงทำให้เสียงที่ได้มีความสมบูรณ์ที่สุด เช่นระบบ เสียง Dolby Digital System

แผ่น DVD-Video : แผ่นใช้สำหรับจัดเก็บภาพยนตร์ความละเอียดสูง ในรูปแบบของ MPEG-2 ให้รายละเอียดที่มากกว่า VCD ถึง 4 เท่าพร้อมระบบเสียงในฟิล์มได้มากถึง 8 ภาษา โดยในแต่ละภาษาอาจจะเป็นระบบเสียงสเตอริโอ 2.0 ช่อง (รูปแบบ PCM) หรือ ระบบเสียงรอบทิศทาง (Surround) เช่น 4.0, 5.1, 6.1 ช่อง ในรูปแบบ Dolby Digital (AC-3) หรือ Digital Theater System (DTS) และ คำบรรยาย (Subtitle) ได้มากสูงสุดถึง 32 ภาษา

http://www.weloveshopping.com/shop/client/000054/kbhtech/DVDR-P.jpg
 แผ่น DVD-R (Digital Versatile Disc-Recordable) : แผ่นที่สามารถบันทึกข้อมูลได้หลายครั้ง (Multi Section) จนกว่าจะเต็มแผ่น โดยสามารถบันทึกข้อมูลใหม่ต่อจากข้อมูลเก่าไปเรื่อยๆ จนเต็มแผ่น เมื่อบันทึกข้อมูลแล้วไม่สามารถลบหรือบันทึกข้อมูลใหม่ทับบนข้อมูลเดิมที่ บันทึกไปแล้วได้

แผ่น DVD+R (Digital Versatile Disc+Recordable) : ชื่อจะคล้ายกับแผ่นด้านบนแต่จุดต่างคือ - และ + โดยแผ่นนี้เป็นแผ่นที่สามารถบันทึกข้อมูลได้หลายครั้ง (Multi Section) จนกว่าจะเต็มแผ่น โดยสามารถบันทึกข้อมูลใหม่ต่อจากข้อมูลเก่าไปเรื่อยๆ จนเต็มแผ่น เมื่อบันทึกข้อมูลแล้วไม่สามารถลบหรือบันทึกข้อมูลใหม่ทับบนข้อมูลเดิมที่ บันทึกไปแล้วได้



 


ความแตกต่างระหว่าง DVD-R และ DVD+R
เครื่องเล่นแผ่นจะอ่านได้หรือไม่? : ช่วงแรกแผ่น –R เครื่องเล่นแผ่นจะอ่านได้มากกว่า +R แต่ปัจจุบันเครื่องเล่นสมัยใหม่ สามารถอ่านแผ่นได้หลากหลายมากขึ้น
ความแตกต่างของข้อมูลในการบันทึกแบบ Multi Session : เปรียบเทียบโดยใช้ข้อมูลขนาดเท่ากันบันทึกข้อมูลลงบนแผ่น –R และ +R เรื่อยๆ จนเต็มแผ่น ผลคือ แผ่น -R จะเสียพื้นที่ในการเพิ่มมากกว่าแบบ +R เล็กน้อย แต่ความจุรวมจะมากกว่าแผ่น +R จะสามารถบันทึกข้อมูลได้น้อยกว่า +R เนื่องจาก –R จะใช้พื้นที่ระหว่าง Multi Session มากกว่า +R จึงทำให้สามารถบันทึกข้อมูลได้น้อยกว่านั่นเอง
ค่ายและมาตรฐานการผลิต : ส่วนนี้เกิดจากการรวมกลุ่มของผู้ผลิตชั้นนำ ได้กำหนดมาตรฐานขึ้นมาทั้งหมด 2 กลุ่มด้วยกัน คือ
DVD Forum (DVD-RW) : มาตรฐานแรกเกิดจากการร่วมกลุ่มระหว่าง Pioneer, Toshiba, Panasonic, NEC และ Sanyo เป็นผู้ดูแลมาตรฐานของแผ่นแบบ DVD-R/RW 
DVD Alliance (DVD+RW) : มาตราฐานนี้เกิดจากการรวมกลุ่มกันของ HP, Philips, Sony, Yamaha และ Mitsubishi เป็นผู้ดูแลมาตรฐานแบบ DVD+R/RW 
แผ่น DVD+R/RW ได้ถูกพัฒนาภายหลัง : เมื่อถูกพัฒนาออกมาภายหลัง ก็ต้องมีการแก้ไขข้อผิดพลาดของแผ่น DVD-R/RW ให้สามารถหยุดการเขียนและเขียนต่อได้ทันที (Pause and Resume) โดยไม่ต้องเสียเวลารอและใช้เทคโนโลยี Lossless Linking ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพการบันทึกและการอ่านข้อมูล ใช้งานได้ง่ายและสะดวกขึ้น




ประเภทของแผ่น DVD-RW แบบต่างๆ
แผ่น DVD-RW (Digital Versatile Disc-Rewritable) : แผ่นที่สามารถบันทึกข้อมูลได้หลายครั้ง การบันทึกข้อมูลแต่ละครั้งต้องเป็นการบันทึกทั้งแผ่น ไม่สามารถเพิ่มเติมภายหลังได้ หากต้องการบันทึกข้อมูลต้องทำการลบข้อมูลเก่า (Erase Data) จึงจะสามารถบันทึกข้อมูลใหม่ได้ สามารถบันทึกข้อมูลใหม่ได้กว่า 100,000 ครั้ง

แผ่น DVD+RW (Digital Versatile Disc Rewritable) : แผ่นที่สามารถบันทึกข้อมูลได้หลายครั้ง การบันทึกข้อมูลสามารถบันทึกข้อมูลได้ทั้ง บันทึกข้อมูลแบบครั้งเดียวหรือบันทึกข้อมูลแบบต่อเนื่อง โดยไม่ต้องลบข้อมูลเก่าก่อน (Erase Data)  สามารถบันทึกข้อมูลใหม่ได้กว่า 100,000 ครั้ง

แผ่น DVD-RAM (Digital Versatile Disc - Random Access Memory) : ดีวีดีแบบใหม่กำลังได้รับความนิยม การทำงานเข้าถึงข้อมูลในแบบลำดับ เหมือนกับ Hard Disk โดยจะทำการบันทึกจะวางข้อมูลที่อยู่บนแผ่นต่อกันไปเรื่อยๆ จนสิ้นสุดข้อมูลนั้นและการอ่านจะเริ่มต้นจากจุดแรกของข้อมูลนั้นตามลำดับ การบันทึกข้อมูลจะต้องเป็นไดร์ฟชนิดพิเศษในการอ่านและเขียนข้อมูล ข้อดีสามารถบันทึกข้อมูลซ้ำไปซ้ำมาได้มากกว่า 100,000 ครั้ง ทำให้ถูกนำไปใช้อุปกรณ์สมัยใหม่มากขึ้นเช่น กล้องวิดีโอดิจิตอล


ประเภทของแผ่นดีวีดี (DVD) ที่ผลิตในปัจจุบัน

แผ่นดีวีดีมีให้เลือกใช้งานหลายความจุ ซึ่งแต่ละแบบมีเทคนิคในการเก็บข้อมูลที่ไม่เหมือนกัน ปัจจุบันแบ่งเป็น 4 รูปแบบตามความจุตามด้านล่างนี้เลย

DVD-5 Single-Sided, Single Layer  : แผ่นที่สามารถบันทึกข้อมูลได้หลายครั้ง (Multi Section) จนกว่าจะเต็มแผ่น โดยสามารถบันทึกข้อมูลใหม่ต่อจากข้อมูลเก่าไปเรื่อยๆ จนเต็มแผ่น เมื่อบันทึกข้อมูลแล้วไม่สามารถลบหรือบันทึกข้อมูลใหม่ทับบนข้อมูลเดิมที่ บันทึกไปแล้วได้ มีขนาดความจุ 4.7GB
DVD-9 Single-Sided, Double Layer  : แผ่น DVD ที่สามารถบันทึกข้อมูลได้เพียงด้านเดียว เหมือนกับ DVD 5 แต่จะต่างกันที่มีการเพิ่มชั้นที่ใช้สำหรับบันทึกข้อมูลเพิ่มขึ้นภายในหน้า นั้นเป็น 2 ชั้นชนิดที่มีการบันทึกข้อมูลแบบหน้าเดียว แต่แบ่งส่วนการบันทึกข้อมูลได้ 2 ชั้น (Dual Layer) สามารถบันทึกข้อมูลได้ 8.4GB
DVD-10 Double-Sided, Single Layer  : แผ่น DVD ที่สามารถบันทึกข้อมูลได้ทั้ง 2 หน้า โดยแต่ละหน้าจะมีการบันทึกข้อมูล 1 ชั้น   ดังนั้น ทั้ง 2 ด้าน จะสามารถบันทึกข้อมูลได้ 9.4GB
DVD-18 Double-Sided, Double Layer  : แผ่น DVD ที่สามารถบันทึกข้อมูลได้ทั้ง 2 หน้า โดยแต่ละหน้าจะมีการบันทึกข้อมูล 2 ชั้น สามารถบันทึกข้อมูลได้ด้าน 17GB




แป้นพิมพ์ไทย

แป้นพิมพ์ของไทย


แป้นพิมพ์เกษมณี เป็นผังแป้นพิมพ์ภาษาไทย คิดค้นโดยสุวรรณประเสริฐ เกษมณี เพื่อใช้กับเครื่องพิมพ์ดีด (ซึ่งไม่มี ฃ/ฅ) ไม่ใช่กับคอมพิวเตอร์โดยตรง โดยในตอนแรกผังแป้นพิมพ์นี้เรียกว่า "แบบมาตรฐาน" เนื่องจากเป็นผังแป้นพิมพ์แบบแรก ๆ ที่ใช้ ต่อมาผู้ร่วมงานเรียกชื่อว่า แป้นพิมพ์เกษมณี เนื่องจากสฤษดิ์ ปัตตะโชติได้นำเสนอผังแป้นพิมพ์แบบใหม่ ที่เรียกว่าแป้นพิมพ์ปัตตะโชติ   ปัจจุบัน สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม พัฒนาแป้นพิมพ์เกษมณีเป็นแป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์
แป้นพิมพ์เกษมณี มีแป้นเหย้าอยู่ที่ ซ้าย     และขวา –   
จุดแตกต่างระหว่างเครื่องพิมพ์ดีดกับคอมพิวเตอร์มีดังนี้
เมื่อยกแคร่  Shift แล้วกดแป้น – เครื่องพิมพ์ดีดจะได้ไม้หันอากาศพร้อมกับไม้โท (–ั้) เทียบเท่ากับการกดทีละตัว ส่วนคอมพิวเตอร์จะได้สัญลักษณ์สกุลเงินบาท (฿)

เครื่องพิมพ์ดีดไม่มีแป้นสำหรับ ฃ ฅๅ + และ _ % สำหรับคอมพิวเตอร์เพิ่มเข้ามาในภายหลัง



แป้นพิมพ์ปัตตะโชติ เป็นผังแป้นพิมพ์ภาษาไทย คิดค้นโดยสฤษดิ์ ปัตตะโชติ เนื่องจากการวิจัยของสฤษดิ์ชี้ให้เห็นว่า แป้นพิมพ์เกษมณีจะมีการใช้งานมือขวามากกว่ามือซ้าย และนิ้วก้อยขวาจะถูกใช้งานหนัก จึงได้ประดิษฐ์แป้นพิมพ์ปัตตะโชติขึ้น โดยเฉลี่ยให้ทั้งสองมือใช้งานเท่า ๆ กัน และให้ลำดับนิ้วที่ใช้บ่อยคือนิ้วชี้ แล้วไล่ลงไปที่นิ้วกลาง นิ้วนาง และนิ้วก้อยที่ใช้งานน้อยที่สุด
จากการวิจัยของสภาวิจัยแห่งชาติพบว่า แป้นพิมพ์ปัตตะโชติสามารถพิมพ์ได้เร็วกว่าแป้นพิมพ์เกษมณีถึง 25.8% และยังช่วยลดอาการปวดนิ้วมือจากการพิมพ์ได้ แต่แป้นพิมพ์ปัตตะโชติก็ไม่เป็นที่นิยมใช้ เนื่องจากความเคยชินในการใช้แป้นพิมพ์เกษมณีที่แพร่หลายก่อนหน้านั้นแล้ว
แป้นพิมพ์ปัตตะโชติ มีแป้นเหย้าอยู่ที่ ซ้าย     และขวา     และถึงแม้จะมีแป้นเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งแป้น แต่แป้น ฃ ฅ ก็ยังไม่มี เช่นเดียวกับแป้นพิมพ์เกษมณี

ข้อมูล CD 


เทคโนโลยีในการจัดเก็บข้อมูลต่างๆ มีความหลากหลายมากขึ้น ผู้ผลิตสื่อบันทึกข้อมูลค่ายต่างๆ ได้เริ่มผลิตสื่อจัดเก็บข้อมูลมากมายหลายประเภท โดยเฉพาะประเภทแผ่นซีดี (CD) หรือ ดีวีดี (DVD) เพื่อให้เราได้เลือกซื้อใช้กันตามความต้องการ ดังนั้นก่อนการเลือกซื้อ เราควรทำความรู้จักสื่อหรือ แผ่น สำหรับจัดเก็บข้อมูลประเภทต่างๆ ว่าแต่ละชนิดมีคุณสมบัติแตกต่างกันอย่างไร โดยครั้งนี้จะแบ่งข้อมูลออกเป็น 2 ประเภทคือ ซีดี และ ดีวีดีนั่นเอง
แผ่นประเภท CD ชนิดต่างๆ ดังนี้
แผ่น CD (Compact Disk) : สื่อบันทึกข้อมูลที่ถูกคิดค้นโดยบริษัท Phillips และ Sony เพื่อใช้บันทึกข้อมูลที่เป็นเสียงในแบบสเตริโอ (Stereo) โดยใช้หลักการบันทึกเสียงให้เป็นแบบดิจิตอล (Digital)



แผ่น CD-ROM (Compact Disc-Read Only Memory) : แผ่นที่สามารถอ่านข้อมูลได้อย่างเดียว (Read Only) ไม่สามารถบันทึกข้อมูลใหม่ หรือข้อมูลเดิมที่มีอยู่ก่อนได้ ภายในแผ่นจะมีข้อมูลที่บรรจุอยู่ภายในแผ่นเรียบร้อยแล้ว เช่น ซีดีเพลงและหนัง ซีดีซอร์ฟแวร์ ซีดีเกม เป็นต้น



แผ่น CD-R (Compact Disc-Recordable) : แผ่นที่สามารถบันทึกข้อมูลได้เรื่อยๆ จนกว่าจะเต็มแผ่น และตำแหน่งที่บันทึกข้อมูลไปแล้วไม่สามารถทำการบันทึกซ้ำได้อีก ไม่สามารถลบหรือแก้ไขข้อมูลได้ มีขนาดความจุอยู่ที่ 700MB

แผ่น CD-RW (Compact Disc-Rewritable) : แผ่นประเภทที่เมื่อบันทึกข้อมูลไปแล้ว สามารถลบข้อมูลเก่าบนแผ่นและบันทึกข้อมูลใหม่ได้ การบันทึกของแผ่น CD-RW จะเป็นลักษณะที่เรียกว่า Multi-Sessions เทคโนโลยีของแผ่น CD-RW จะแตกต่างจาก CD-R เนื่องจากต้องมีการบันทึกซ้ำ สารเคมีที่เคลือบบนแผ่น CD-RW จะสามารถเปลี่ยนแปลงได้เมื่อได้รับความร้อน สามารถบันทึกข้อมูลได้ประมาณ 1,000 ครั้ง มีขนาดความจุที่ 700MB

แผ่น CD-R LightScribe : แผ่นซีดีที่สามารถบันทึกข้อมูลได้คล้ายแผ่น CD-R แต่เพิ่มเทคโนโลยี LightScribe สร้างลวดลายโดยอาศัยแสงเลเซอร์เขียนลงไปที่แผ่น ซึ่งอาบด้วยสารเคมีพิเศษสีทองซึ่งจะทำให้เปลี่ยนเป็นรอยจุดสีดำซึ่งมีความ ละเอียดสูง ความพิเศษของแผ่นชนิดนี้ ให้คุณสร้างสรรค์ทั้งข้อความและรูปภาพลวดลายลงบนหน้าแผ่นได้เลย โดยไม่ต้องใช้ปริ้นเตอร์ ทำให้ได้แผ่นที่มีความสวยงามมาก

แผ่น CD-R Printable : แผ่นที่สามารถบันทึกข้อมูลลงบนแผ่นได้คล้ายแผ่น CD-R แต่สามารถพิมพ์ลายลงบนแผ่นได้โดยตรงและไม่ต้องใช้ปริ้นเตอร์

แผ่น Mini CD-R (Mini Compact Disc-Recordable) : แผ่นซีดีขนาดเล็ก พกพาสะดวก (ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 8 ซม.) มีความจุน้อยกว่าซีดีธรรมดา และมีขนาดความจุเพียง 185-200MB เท่านั้น


แผ่น CD Card : แผ่นซีดี มีรูปร่างและขนาดใกล้เคียงกับนามบัตร







เว็บไซต์แรกของโลก


เว็บไซต์แรกของโลก

เว็บไซต์แรกของโลก คือเว็บ http://info.cern.ch เปิดตัวครั้งแรกบนโลกไซเบอร์เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2534 สร้างโดย เซอร์ทิโมที จอห์น เบอร์เนิร์ส-ลี (Sir Timothy John Berners-Lee, OM, KBE, FRS, FREng, FRSA)หรือที่เรารู้จักในนาม ทิม เบอร์เนิร์ส-ลี ผู้คิดและพัฒนาระบบ เวิลด์ไวด์เว็บ (WorldWideWeb) เป็นคนแรกของโลก!!

            ทิม เบอร์เนิร์ส-ลี เกิดในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เป็นบุตรของนายคอนเวย์ เบอร์เนิร์ส-ลี และนางแมรี ลี วูดส์ ซึ่งทั้งสองคนนี้เป็นนักคณิตศาสตร์ ผู้อยู่ในทีมสร้างคอมพิวเตอร์ "แมนเชสเตอร์ มาร์ก 1" คอมพิวเตอร์ยุคแรกของโลก

            ระหว่างเดือนมิถุนายน-ธันวาคม พ.ศ. 2523 เป็นช่วงที่ ทิม เบอร์เนิร์ส-ลี ได้ทำงานเป็น Freeland อยู่ที่เซิร์น (Cern) ได้เสนอโครงการ ข้อความหลายมิติ (Hypertext) ขึ้นเพื่อใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างนักวิจัยด้วยกัน และมีการเริ่มสร้างระบบต้นแบบไว้แล้ว โดยใช้ชื่อว่า ENQUIRE


เมื่อถึง พ.ศ. 2532 เซิร์นได้กลายเป็นศูนย์อินเทอร์เน็ตที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป และเบอร์เนิร์ส-ลีได้เล็งเห็นโอกาสในการใช้ "ข้อความหลายมิติ" ผนวกเข้ากับอินเทอร์เน็ต เบอร์เนิร์ส-ลีเขียนไว้ในข้อเสนอโครงการของเขาว่า "...ผมเพียงเอาความคิดเรื่องข้อความหลายมิตินี้เชื่อมต่อเข้ากับความคิด "ทีซีพี" และ "DNS" เท่านี้ก็จะได้ "เวิลด์ไวด์เว็บ.." เบอร์เนิร์ส-ลีร่างข้อเสนอของเขาเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2532 และในปี พ.ศ. 2533 ด้วยความช่วยเหลือของโรเบิร์ต ไคลิยู ช่วยปรับร่างโครงการให้ ไมค์ เซนดอลล์ผู้จัดการของเบอร์เนิร์ส-ลีจึงรับข้อเสนอของเขา ในข้อเสนอนี้ เบอร์เนิร์ส-ลีได้ใช้ความคิดเดียวกับระบบเอ็นไควร์มาใช้สร้างเวิลด์ไวด์เว็บ ซึ่งเขาได้ออกแบบและสร้างเว็บเบราว์เซอร์และเอดิเตอร์ตัวแรก (เรียกว่า WorldWideWeb และพัฒนาด้วย NEXTSTEP)และเว็บเซิร์บเวอร์ขึ้น เรียกว่า httpd (ย่อมาจาก HyperText Transfer Protocal Deamon)

            เว็บไซต์แรกสร้างขึ้นที่เซิร์น นำขึ้นออนไลน์เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2534 ให้คำอธิบายว่าเวิลด์ไวด์เว็บคืออะไร การที่จะเป็นเจ้าของเบราว์เซอร์ทำได้อย่างไรและจะติดตั้งเว็บเซิร์บเวอร์ได้ อย่างไร นอกจากนี้ยังนับเป็นเว็บไดเร็กทอรี่อันแรกของโลกด้วยเนื่องจากเบอร์ เนิร์ส-ลีดูแลรายชื่อของเว็บไซต์อื่นๆ ทั้งหมด นอกจากของตนเองด้วยเบอร์เนิร์ส-ลีเปิดเผยให้ความคิดแก่ทุกคนและทุกองค์กร โดยไม่คิดมูลค่า เขาไม่เคยจดทะเบียนลิขสิทธิ์การค้นคิดของเขาเลย รวมทั้งไม่เรียกค่าตอบแทนหรือรางวัลอื่นใดจากใคร นอกจากเงินเดือนปกติ ดังนั้น กลุ่มบริษัทเวิลด์ไวด์เว็บจึงตัดสินใจไม่คิดมูลค่าใดๆ จากการนำมาตรฐานของกลุ่มบริษัทไปใช้ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ประกอบการทุกรายยอมรับมาตรฐานเดียวกันได้บนพื้นฐานทางเทคโนโลยี ไม่ใช่พื้นฐานค่าสิขสิทธิ์ถูกหรือแพง

            ในพ.ศ. 2548 ทิม เบอร์เนิร์ส-ลี ได้รับยกย่องจากนิตยสาร Time ให้เป็น 1 ใน 100 บุคคลที่ทรงอิทธิพลของศตวรรตที่ 20 และในวันที่ 13 มิถุนายน 2550 ได้รับพระราชทานครื่องราชอิสริยาภรณ์ฝ่ายหน้าจากสมเด็จพระบรมราชินีเอลิซา เบท เป็นการส่วนพระองค์ ซึ่งคนที่ได้รับและยังมีชีวิตอยู่มีเพียง 24 คนเท่านั้น
            ในปัจจุบัน เว็บไซต์ http://info.cern.ch ยังสามารถใช้งานได้อยู่ โดยภายในเว็บจะแสดงเนื้อหาบอกเล่าความเป็นมาของการเกิดเว็บไซต์แห่งแรกของโลกขึ้น

วันจันทร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2557

ข้อมูลเกี่ยวกับ memory card

ข้อมูลเกี่ยวกับ memory card


ปัจจุบันอุปกรณ์เครื่องใช้อิเลคทรอนิคส์ โดยเฉพาะโทรศัพท์มือถือ หรือคอมพิวเตอร์พกพา เช่น Palm, Pocket PC นั้น จะมีการ์ดที่ใช้เก็บข้อมูล[memory card ] ขนาดต่าง ๆ หลายชนิด วันนี้ผมเลยมา Update ข้อมูลเกี่ยวกับประเภทต่าง ๆ ของการ์ด ที่พบเห็นกันบ่อย ๆ รวมถึงแยกความแตกต่างของแต่ละชนิดให้เพื่อน ๆ ได้ทราบกัน

Compact Flash (CF card)


CF card เป็นการ์ดที่มีขนาดเล็กและเบา รวมทั้งยังทนทานเป็นพิเศษ มีความจุตั้งแต่ 8 เมกะไบต์ จนถึง 3 กิกะไบต์ จุดเด่นของ CF card คือ มีความเร็วในการอ่านและเขียนข้อมูลสูง โดย CF card จะมี 2 รูปแบบคือ Type 1 และ Type 2 ซึ่ง Type 2 จะมีความจุมากขึ้น และประมวลผลได้เร็วขึ้น
อุปกรณ์ที่นิยมใช้ CF card ส่วนใหญ่จะเป็น กล้องดิจิตอล และ คอมพิวเตอร์พกพา ที่เห็นได้ชัดก็คือ กล้อง Canon จะใช้ CF card เป็นตัวเก็บภาพแทบทุกรุ่น

Multimedia Memory Card (MMC card )





การ์ดตัวนี้เราอาจจะคุ้นเคยกันดี เพราะร้อยละ 90 ของมือถือที่รองรับการ์ดความจำ จะใช้ MMC card เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งข้อดีของมันก็คือ ขนาดที่เล็กและบาง ทำให้เป็นที่นิยมกับอุปกรณ์จำพวก มือถือ, Palm, Pocket PC หรือเครื่องเล่น MP3 พกพาขนาดเล็ก แต่ข้อเสียของ MMC card ก็คือมีราคาแพง และมีความจุให้เลือกน้อย ซึ่งสูงสุดของ MMC ที่พบในตลาดก็คือ 512 MB
Secure Digital Card (SD card)





เป็นพัฒนาการต่อเนื่องมาจาก MMC card จะเห็นได้ว่าอุปกรณ์บางชนิด สามารถใส่ได้ทั้ง MMC และ SD card เนื่องจากว่าการ์ดทั้ง 2 ชนิดนี้มีขนาดเท่ากัน ต่างกันที่ SD จะหนากว่านิดหน่อยเท่านั้น นอกจากเรื่องขนาดแล้ว สิ่งที่ SD พัฒนากว่า MMC ก็คือเรื่องของความเร็วในการอ่าน-เขียนข้อมูล, หน่วยความจำที่มีขนาดให้เลือกเยอะกว่า รวมถึงการมีระบบ security ล๊อคที่ตัวการ์ดไม่ให้มีการเขียนทับได้


Memory Stick (MS) 



เป็นการ์ดที่คิดค้นโดยบริษัท Sony มีขนาดเล็ก และเป็นแผ่นบางคล้ายหมากฝรั่ง จุดเด่นของ memory stick ก็คือความรวดเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลสูงมาก อยู่ในระดับ 1.3 MB/วินาที ถือว่าสูงกว่า SD และ MMC แต่ก็ยังมีข้อเสีย คือจะใช้ในวงแคบแค่ผลิตภัณฑ์ของ Sony เท่านั้น และมีราคาแพง


 Reduce Size Multimedia Card (RS-mmc)


เป็นการ์ดแบบใหม่ ถูกผลิตขึ้นมาเพื่อทดแทน MMC ตัวเดิมที่ขนาดใหญ่กว่า เนื่องจากในปัจจุบันอุปกรณ์อิเลคทรอนิคส์นับวันจะยิ่งเล็กลง เพราะฉะนั้น RSMMC จึงถูกออกแบบมาเพื่อรองรับกับช่องใส่ที่เล็กลง แต่โดยแท้จริงแล้วการทำงานของมันไม่ต่างกับ MMC ตัวเดิมเลย